1. ให้ความร่วมมือกับกับศูนย์อำนวยการ ทุกระดับที่จัดตั้งขึ้น ในการประสานงานป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
2. จัดหา และสนับสนุนเครื่อง และอุปกรณ์ในการแจ้งเตือนภัย ตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
3. ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เพื่อให้บุคลากร ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น โดยต้องเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ และอพยพไปอยู่ยังที่ปลอดภัยทันที เมื่อมีแนวโน้มว่าอาจจะมีสถานการณ์เกิดขึ้น
4. จัดเตรียมกำลังคน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือสื่อสาร ยานพาหนะ เรือท้องแบน เครื่องสูบน้ำ
5. จัดข้าราชการ บุคลากรเฝ้าระวัง ติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา อย่างใกล้ชิด
6. หากเกิดเหตุการณ์อุทกภัย ขึ้นในพื้นที่และความรับผิดชอบของโรงเรียน ขอให้สรุปรายงานความเสียหาย และการให้การช่วยเหลือที่ดำเนินการแล้วในด้านต่างๆ แล้วรายงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 4 ทราบ ต่อไป
...เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2553 น้ำที่ไหลมาตามแม่น้ำมูล จากอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้เอ่อท่วมโรงเรียนบ้านบุ่งเบา ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรมย์ ระดับน้ำสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 80 เซนติเมตร นายสุนทร เสาว์สิงห์ ผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมด้วยคณะครู นักเรียน ภารโรง ผู้ปกครองนักเรียน ประชาชนในเขตบริการของโรงเรียน และทหารจากจังหวัดทหารบกบุรีรัมย์ ได้ช่วยกันเคลื่อนย้ายวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน ไปไว้ในที่ปลอดภัย โดยมีนายพีรศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ เดินทางมาตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจ ความเสียหายครั้งนี้อยู่ระหว่างประเมิน และคาดว่าระดับน้ำจะสูงขี้นเรื่อย ๆ
น้ำท่วมโรงเรียนบ้านบุ่งเบา |
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : [ข่าวสพป.บร.4] [ข่าวผู้จัดการออนไลน์] [ข่าวจังหวัดบุรีรัมย์]
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : http://www.buriram4.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น