วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ร.ร.บ้านโนนยางโดน 2 เด้ง 2 ลำน้ำทะลักท่วม...ทุ่งหนองหนาว


        ...ถ้าท่านเดินทางจากสี่แยกไฟแดงอำเภอสตึกไปทางทิศตะวันออก  ที่มีป้ายบอกไปหมู่บ้านช้างการบินไทย-สุรินทร์ ระยะทาง  26  กิโลเมตร ที่นั่นเป็นหมู่บ้านช้างเลี้ยงที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ยังคงเหลืออัตลักษณ์การเลี้ยงชาวชาวกูยตำแรย์ โดยการจับช้างแบบบโพนช้่าง ด้วยภาษาผีปะกำ ที่เรียกว่า "กูบเทวะด่า" ชาวไทยกูยที่นี่จะมีอาชีพเลี่ยงช้างมาตั้งแต่บรรพบุรุษ  จึงเีรียกว่ากูยอะจีง (อะ-จีง แปลว่าช้าง) หรือกูยเลี้ยงช้าง



        >>..บริเวณดังกล่าวเกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกเป็นที่ราบสูงมีพื้นที่กว้างใหญ่คือป่าดงสายทอ ทางทิศตะวันออกและป่าดงภูดินทางทิศตะวันตก... สภาพทางภูมิศาสตร์ที่ลำชีซึ่งมีต้นกำเนิดจากเืืทือกเขาพนมดองแร็ก (เป็นคำที่ถูกต้องตามพจนานุกรม) หรือเรียกกันว่าภูเขาไม้คานแห่งเทพเจ้า ที่เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมของสองรัฐชาติในปัจจุับันคือ ไทยและกัมพูชา...ลำน้ำชีกลายเป็นเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์ ...มีความยาวประมาณ 160 กิโลเมตร  ...กลายเป็นแหล่งเีรียนรู้กิจกรรมทางลูกเสือ เช่น ค่ายศิรประภา ค่ายไพรวิจิตร และค่ายจิรนนท์ ต.เมืองลีง อ.จอมพระ จ.สุรินทร์
ร.ร.บ้านโนนยาง
        ทางซ้ายฝั่งลำชี เริ่มตั้งแต่โรงเรียนบ้านสระกุด โรงเรียนบ้านหนองหัวควาย โรงเรียนหนองปุน โรงเรียนบ้านกระสัง โรงเีรียนบ้านหนองแวงและโรงเีรียนบ้านโนนยาง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ โดยเฉพาะโรงเรียนบ้านโนนยาง ที่อยู่ปลายสุดของลำน้ำ ที่ลำชีมาบรรจบกับแม่น้ำมูล "เรียกว่าวังทะลุ" กลายเป็นผืนป่าชุ่มน้ำ ป่าบุ่งป่าทาม ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดเื่้นื่องจากเป็นปรากแพรกที่แสน้ำไหลพัดพาเอาแพลงก์ตอน เป็นแหล่งอาหารของปลาและสัตว์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในน้ำ...แต่ในปัจจบันกลับถูกทำลายด้วยฝีมือมุนษย์ หนาแน่นไปด้วยยูคาลิปตัส พืชเศรษฐกิจโตเร็วในทุกว้ันนี้ ...ไม่มีแม้กระทั่งอาหารของช้าง
         กระแสน้ำที่ไหลแรงมากจากทางอำเภอคูเมือง พุทไธสง แคนดง เข้าเขตอำเภอท่าตูม ที่ถูกกั้นด้วยเขื่อนยางที่บ้านยางบ่อภิรมย์ อ.ชุมพลบุรี  ปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมโรงเรียนหลายโรงเรียนที่ต้องรับชะตากรรม จากวัฒนธรรมวิบัติของกระแสน้ำ เช่น โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก โรงเรียนบ้านท่าเรือและโรงเรียนบ้านท่าม่วง (นิดหน่อย)... ด้วยผลพวงจากปรากฏการณ์เอลนีโญ หรือภาวะโลกร้อน  ที่เราเคยทำลายธรรมชาติ  ...แต่ในปัจจุบันธรรมชาติกลับมาทำลายเราเอง
  
นร.ร.ร.บ้านโนนยาง
         โรงเรียนบ้านโนนยาง  สังกัดตำบลท่าม่วง กลุ่มสตึก 5 สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 โรงเรียนไกลสุดแดนตะวันออก หรือที่เรียกว่าจ้าวบูรพา แห่งทุ่งหนองหนาว (อากาศจะหนาว ลมแรง ในช่วงหน้าหนาว)  ปัจจุับันเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวนบุคลากร  16  คน  นักการ  1  คน  นักเรียน  245 คน พื้นที่  23 ไร่  หมู่บ้านในเขตบริการจำนวน  4  หมู่บ้านดังนี้  1)  บ้านตราด หมู่ 4  2)  บ้านโนนยาง หมู่ 8  บ้านขี้เหล็ก หมู่ 5  ตำบลท่าม่วง และ 4)  บ้านดอนแก้ว ม.9 ต.ทุ่งวัง สภาพของชุมชนทั้ง 4 หมู่บ้าน  โดยเฉพาะบ้านดอนแก้ว ตั้งอยู่ติดริมฝั่งลำชี ส่วนบ้านขี้เหล็ก บ้านโนนยาง และบ้านตราดตั้งบนที่เนินสูง ห่างจากฝั่งลำชีประมาณ 1.5 กิโลเมตร
อ.สิริวัฒน์ วรเนตรสุทธิกุล
          สภาพน้ำท่วมในขณะนี้ น้ำจากลำชีที่ถูกน้ำจากลำน้ำมูลทะลักเข้ามาทำให้น้ำจาำกลำชีเอ่อท่วมสูงขึ้น โดยเฉพาะถนนทางเข้าโรงเรียน ทำให้นักเรียนในหมู่บ้านต่าง ๆ ไม่สามารถเดินทางมาโรงเรียนได้ ส่วนรอบบริเวณโรงเรียนในขณะนี้น้ำได้ทะลักเข้ามาท่วมสนามกีฬาและบ่อปลา ในปริมาณที่ยังไม่มากนัก  จากการสัมภาษณ์ อ.สิริวัฒน์  วรเนตรสุทธิกุล  ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านโนนยาง ...ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในตอนนี้วันละประมาณ  10 ซม. และมีปริมาณเพิ่มขึ้นเีรื่อย ๆ ส่งผลให้นาข้าว  ของประชาชนในเขตทุ่งหนองหนาว เสียหายประมาณ  20 % เพราะส่วนมากมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ส่วนบ้านตราด ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ ปากแพรก  ทำให้ปริมาณน้ำท่วมบ้านจำนวนหลายหลังคาเรือน ตลอดจน วัด และบ่อปลาของชาวบ้าน
          ผอ.พรศักดิ์  ทับทินหิน  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโนนยาง กล่าวว่าทางทีมงานว่า  โรงเรียนบ้านโนนยางได้ประกาศปิดเรียนเป็นเวลา  1 สัปดาห์ เนื่องจากนักเรียนไม่สามารถเดินทางมายังโรงเีรียนได้  โดยเฉพาะเส้นทางระหว่างบ้านดอนแก้วมายังบ้านขี้เหล็กน้ำท่วมสูงประมาณ 50 ซม. หลังจากน้ำลดทางโรงเรียนจะได้มีกาสอนชดเชยตามวันเวลาที่ได้ปิดเรียนไป  อ.สิริวัฒน์ กล่าวว่า  ปีนี้นับว่าโชคดีที่ปริมาณน้ำจากลำชีมีไม่มากเหมือนปีก่อน ๆ แต่ก็เหมือนกับโดน 2 เด้ง...2 ลำน้ำพร้อมกัน
         ทางกลุ่มสตึก 5  ได้ออกไปเยี่ยมทุกโรงเรียนที่ถูกน้ำท่วม  ทางทีมงานเว็บมาสเตอร์ สพป.บร.4 มีโอกาสได้ไปเก็บภาพบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ จะได้รายงานความเสียหายต่อไป

แผนที่ โรงเรียนบ้านท่าเรือ ร.ร.ท่าม่วง และร.ร.โนนยาง


ทางเข้าบ้านดอนแก้ว หมู่ 9 ต.ทุ่งวัง

ระดับน้ำสูงขึ้น จากสะพานข้ามลำชี บ้านตราด

ช้างบ้านสำโรงพิมานนำมาเลี้ยงในทุ่งนา ขาดอาหารและหญ้า สำหรับช้าง

น้ำ่ท่วมด้านหน้าร.ร.ท่่าม่วง (1 พ.ย.53)
น้ำท่วมถนนลาดยาง สตึก-โนนจำปาช่วง กม.ที่ 6
ระหว่างร.ร.ชุมชนบ้านสะแก-บ้านมะพริก (หน้าบ้านผอ.ประสงค์ พวงธรรม)

          แ่บ่งปันความรู้ :  แกลอรี่ชุดน้ำท่วมร.ร.โนนยาง-ท่าม่ว

-----------------------------------------------------------------------------------------------------
ข่าว/ภาพ :   อ.สุวัฒน์  อุ่นทานนท์ Webmaster2
สัมภาษณ์ :  อ.สิริวัฒน์ วรเนตรสุทธิกุล ครู โรงเรียนบ้านโนนยาง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
สารสนเทศลุ่มน้ำลำชี

   ลำชี ต้นกำเนิดบริเวณเทือกเขาพนมดองแร็กใกล้กับช่องกระฮ่อม และช่องตาเมือน แล้วไหลไปทางเหนือเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างจังหวัดสุรินทร์กับจังหวัดบุรีรัมย์ โดยผ่านอำเภอบ้านกรวด อำเภอประโีคชัย พลับพลาชัย กระสัง ห้วยราชและสตึก ตามลำดับ มีความยาวทั้งสิ้น 160 กิโลเมตร


ลุ่มน้ำลำชี       ลำน้ำหลักของลุ่มน้ำนี้คือ ลำชี

              (ลำชีนี้เป็นสาขาของแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นคนละสายกับแม่น้ำชี) ครอบคลุมพื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัด ซึ่งได้แก่พื้นที่อำเภอสตึกบางส่วน อำเภอกระสัง อำเภอประโคนชัย อำเภอพลับพลาชัย อำเภอบ้านกรวด อำเภอเมืองบุรีรัมย์บางส่วนและอำเภอห้วยราชบางส่วน มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,822 ตารางกิโลเมตร แบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วน คือ

           2.1 ลุ่มน้ำลำชี ตอนบน     ได้แก่พื้นที่ในเขตอำเภอบ้านกรวด อำเภอประโคนชัย และอำเภอพลับพลาชัย ลำสาขาที่สำคัญคือ ลำห้วยเสว และลำห้วยตะแบก ที่ไหลลงสู่ลำชี 

           2.2 ลุ่มน้ำลำชี ตอนล่าง   ได้แก่พื้นที่ในเขตอำเภอกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์บางส่วน และอำเภอห้วยราชบางส่วน มีลำสาขาที่สำคัญ คือ ลำห้วยลึก ลำห้วยกระเบื้อง และลำชีน้อยที่เป็นต้นน้ำของลำชี โดยลำสาขาดังกล่าวไหลลงลำชี แล้วลำชีไหลลงสู่แม่น้ำมูลต่อไป 


ลำชี

แหล่งข้อมูลอ้างอิง :โครงการชลประทานบุรีรัมย์ http://ridceo.rid.go.th/buriram/lumchi_basin.html
http://picasaweb.google.com/satuk5br4/cBxfJJ#

1 ความคิดเห็น: