วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ชุมชนตะแบงแห่งปากคาบลำตะโคง ...ฤาจะเป็นเวนิชแห่งตะวันออก

จากสถานการณ์น้ำมูลที่ไหลมาจากจังหวัดนครราชสีมา ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ หนุนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากระดับน้ำที่หนุนสูงขึ้น 7.50 เมตร ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในรอบ 30 ปี  ชุมชน หมู่บ้าน สถานที่ราชการถูกน้ำท่วมขังได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะนาข้าวที่กำลังออกรวงใกล้เก็บเกี่ยวจมน้ำแล้วเกือบ 30,000 ไร่


ชาวบ้าน...แห่งปากคาบลำตะโคง
       >>...ชุมชนบ้านตะแบงและโนนสำราญ ตำบลหัวฝาย อำเภอแคนดง  จังหวัดบุรีรัมย์ สภาพของชุมชนในเวลานี้ไม่ต่างไปจากเวนิชแห่งตะวันออก สภาพน้ำเริ่มทะลักเข้ามาในหมู่บ้านทั้งจากแม่น้ำมูลและลำตะโคงเริ่มหนุนมาสบทบ วิบากกรรม 2 ลำน้ำไหลมาบรรจบที่ปากแพรก ซึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า ปากคาบ ซึ่งลักษณะการตั้งบ้านเรือนของคนในสมัยก่อน นิยมตั้งบ้านเรือนบนที่สูง สภาพน้ำท่วมถึง บริเวณดังกล่าวจึงมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งของชุมชนดังกล่าวทั้งชาวไทยเขมร ไทยลาวเป็นส่วนมาก จับจองทำเลริมลุ่มน้ำเพื่อทำมาหากิน จนกลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ มีวัฒนธรรมดังเดิมที่มีมาตั้งแต่อดีต เช่น วัฒนธรรมการลงแขกเกี่ยวข้าว หาปลา สภาพเศรษฐกิจสังคมแบบทุนนิยมได้แพร่กระจายมามาครอบงำในชุมชนอย่างรวดเร็ว มีการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวคือการทำนา ปลูกพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ โตเร็ว คือยูคาสิปตัส ใช้ระบบเทคโนโลยีมาช่วยในการทำนา โดยใช้วัฒนธรรมของเงินเป็นปัจจัยหลัก นาข้าวที่ลงทุนไป กำลังจะถึงอายุการเก็บเกี่ยวอีกไม่กี่สับดาห์ข้างหน้าหายไปพร้อมก้ับกระแสของน้ำจากสองลำน้ำ...นั่งคิด นอนคิดว่า... จะมีเงินไปใช้หนี้ค่าปุ๋ย ค่าแรงงาน ค่าเทอมลูกไปโรงเรียน หนี้ธกส. และค่าใช้จ่ายการบริโภคในครัวเรือน ...ยิ่งคิดน้ำยิ่งหนุนมากขึ้นเรื่อย ๆ  ชาวบ้านที่นี่มีวัฒนธรรมการบริโภคอาหารแบบสมัยใหม่ จากการพูดคุยกับอ.บุญธรรม ดำพลางาม ที่ได้โยกย้ายครอบครัวจากอ.สตึก มาอยู่ที่นี่หลังจากออกจากโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด...ชาวบ้านที่นี่...นิยมซื้อหาหารสำเร็จรูปมาทำ ลืมนึกถึงความพอเพียงที
บรรพบุรุษสร้างมาให้...ถ้าให้ อ.ประนอม ขันโพธิ์น้อย...มาอยู่รับรองปลาำลำตะโคงไม่มีเหลือแน่นอน

วิถีชีวิตความเป็นอยู่...ต้องใช้เรือ
     >>...วัฒนธรรมในการก่อสร้างบ้านนิยมยกพื้นสูงเป็นแบบชั้นเดียว ก่อสร้างด้วยปูน ลืมนึกถึงธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในเชิงอนาคตภาพ   ที่จะต้องป้องกันน้ำท่วม บ้าน 2 ชั้น เมื่อถึงน้ำท่วมก็ไปอยู่ข้างบนได้...ความเป็นชุมชนในอนาคตไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร ...พ่อใหญ่แห่งปากคาบลำตะโคงบ่นให้พวกเราฟัง...น้ำมันท่วมแล้วท่วมเล่า รัฐบาลน่าจะมีหนทางช่วยเหลือประชาชน ลงทุนทำนาไป 50 ไร่ ยัีงไม่ไ้ด้เก็บเกี่ยวเลยน้ำมาวันเดียวท่วมหมด ...ข้าวพึ่งเป็นน้ำนมเหมือนสาวแรกรุ่น...เหลืออีกไม่กี่ส้ปดาห์ก็จะเกี่ยวได้...  

     >>...น้ำที่ทะลักเข้ามาท่วมชุมชนหมู่บ้านตะแบงในวันนี้ สูงกว่า 1.20 เมตร จากการสัมภาษณ์"พ่อสำเริง เย็นรัมย์" ปราชญ์ชาวบ้่าน ฐานเรียนรู้ชุมชนตะแบง นักวิชาการ ป.4 ต้นแบบการอนุรักษ์และจัดการน้ำ โดยมีสโลแกนว่า "คนเราเรียนช้าเท่าไหร่ก็ยิ่งโง่นานเท่านั้น" คณะทีมงานโดย อ.ศิริพงษ์  สิมสีดา ได้แวะเยี่ยมสภาพปัญหาน้ำท่วมในขณะนี้ ว่า "มัีนคงหลีกเีลี่ยงไม่ได้ โลกมันเปลี่ยนไป เราต้องปรับตัวให้เหมาะสมกับบริษทของเรา มีขึ้นมีลงเหมือนน้ำ ต้องยืดหยุ่น"  จากการลงเก็บข้อมูลภาคสนามของชุมชนตะแบงแห่งนี้ ทุกคนมีกำลังใจในการต้อนรับของผู้มาเยือน แม้่ว่าน้ำจะท่วมแต่ชาวบ้่านที่นี่ไม่แห้งแล้งน้ำใจ...บอกว่าคุณครูกินน้ำไหม กินข้่าวแล้วหรือยัง อุตสาห์พายเรือให้พร้อมอธิบายสภาพปัญหาของน้ำท่วมในปีนี้...ก่อนจากชาวบ้านได้ฝากปลาที่ตากแห้งมาให้พวกเรา บอกว่าเป็นปลาที่ได้จากการวางมอง เบ็ดที่นี้ อาหารอุดมสมบูรณ์ แม้จะท่วม ฝนจะตก  ชาวบ้านตะแบงไม่เคยแห้งแล้งน้ำใจสำหรับการมาเยือนของเรา

สภาพน้ำท่วมถนนมา 2 สัปดาห์แล้ว
     >>...เด็ก ๆ ที่นี่คงไม่มีโอกาสเปิดโรงเรียนเร็ว เหมือนโรงเรียนอื่น คงต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้จากน้ำ ที่จะนำไปสู่การคิดวิเคราะห์เพื่ื่อการเรียนรู้สภาพจริง ว่าน้ำมาจากไหน ทำไมจึงมาท่วมเฉพาะแต่บ้านเรา (บ้านตะแบง) เมื่อโตขึ้นเราจะย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือไม่...ทำอย่างไรพ่อแม่จึงจะมีข้าวไปขาย คุณครูที่นี่ อ.ประมูล กล่าวกับพรวกเราว่า แวะมาเยี่ยมกันหน่อย มีกำลังใจที่ทางเว็บมาสเตอร์มาถ่ายรูปและเขียนข่าว ลงเว็บไซต์...กิจกรรมความเป็นเลิศระดับเขตพื้นที่ จะได้มีโอกาสไปร่วมแข่งขันหรือไม่... คิดว่าคงไม่ทันหรอก...สงสารแต่นักเรียนไม่รู้ว่าวันไหนจะได้เรียนหนังสือ ...มองหันหลังกลับไปเห็นเด็กเล่นน้ำกันย่างสนุกสนาน

     >>...ตะวันเกือบจะพลบค่ำ...ได้เวลาจากชาวบ้านแห่งลำตะโคง  ....ชาวบ้านยิ้่มแย้มโบกมือบอกว่าคุณครูมาอีกเด้อ....กำลังใจ กำลังใจ กำลังใจ....ฝากบอกเพื่อนครูชาว สปพ.บร.4 ทุกท่านไปเยี่ยมพวกเขาบ้าง จะได้มีกำัลังใจต่อสู้วิกฤติจากน้ำรอบ 50 ปีที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้...ขับรถผ่านชาวบ้านที่นั่งผิงไฟ ประกอบอาหาร....พร้อมกับการวางแผนไปอีกในวันพรุ่งนี้ว่าจะทำอย่างไร น้ำจะลดหรือไม่ คงต้องนอนหลับอีกสักคืน... พรุ่งนี้ค่อยหาวิธีการคิด....????

สภาพน้ำท่วมโรงเรียน สูงขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 1.50 เมตร

ยังไม่ได้กำหนดแน่นอนว่า...จะเปิดเรียนได้ในช่วงไหน

ถนนลาดยาง กลายเป็นทางน้ำสำหรับเดินทางสัญจรไปมา

ชุมชนตะแบงวันนี้...เป็นเวนิชแห่งตะวันออก
พ่อสำเริง  เย็นรัมย์ ปราชญ์ชาวบ้านด้านการจัดการน้ำ ต้อนรับคณะทีมงานเรา
เว็บมาสเตอร์ของเรา...ลงเ็ก็บข้อมูลภาคสนาม

แบ่งปันความรู้ :  ภาพน้ำท่วม...ชุมชนตะแบง ....เวนิชแห่งตะวันออก




ผู้เขียนบล็อก  :  อ.สุวัฒน์  อุ่นทานนท์
สัมภาษณ์/ภาพ :  อ.ศิริพงษ์  สิมสีดา

สถานที่ : ชุมชนตะแบง ต้นแบบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ต.หัวฝาย อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระน่ารู้เกี่ยวกับลำตะโคง

        มีต้นกำเนิดจากเนินเขากระโดง อำเภอเมือง ฯ มีลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยจระเข้มาก ห้วยตลาด ห้วยกระโดง ห้วยราช ห้วยยาง ไหลมาบรรจบ เกิดเป็นลำตะโคง แล้วไหลไปทางเหนือของจังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านอำเภอเมือง ฯ อำเภอบ้านด่าน อำเภอสตึก แล้วไหลลงสู่แม่น้ำมูล ที่บ้านตะแบงมีความยาวประมาณ ๕๖ กิโลเมตร 
ลำน้ำในลุ่มน้ำลำตะโคง
       ลำตะโคงและห้วยจระเข้มาก
                  ลำตะโคงทางตอนต้นน้ำจนถึงบริเวณตัวจังหวัด มีชื่อเรียกว่าห้วยจระเข้มาก นับตั้งแต่บริเวณตัวเมือง ขึ้นไปทางเหนือ จนบรรจบกับแม่น้ำมูล มีชื่อว่าลำตะโคง มีสาขาที่สำคัญ คือ ห้วยราช และห้วยยาง ต้นน้ำลำตะโคง ได้แก่บริเวณที่เป็นอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มากในปัจจุบัน สำหรับห้วยจรเข้มาก ต้นน้ำอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำ พิกัด PTB 860470 ระวาง 5638 IV บ้านสวายสอ อำเภอเมือง ถัดจากน้ำที่ล้นจากเขื่อนแล้วปล่อยให้ไหลไปตามลำห้วยเดิม

       ห้วยตลาด ห้วยราช และห้วยกระโดง
                  เป็นลำห้วยสายเดียวกัน ช่วงต้น เรียกชื่อ ห้วยตลาด ถัดไปทางเหนือจนถึงเส้นทาง รพช.หมายเลข 11003/3ผ่านบริเวณเขากระโดง เรียกชื่อห้วยกระโดงถัดต่อไปทางเหนือจนสมทบกับลำตะโคงเรียก ห้วยราช ซึ่งเป็นส่วนที่ผ่านอำเภอห้วยราช ต้นน้ำของห้วยนี้อยู่บริเวณที่ลุ่ม ซึ่งขณะนี้กลายเป็นอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด
       ห้วยยาง
                  เป็นสาขาของลำตะโคง พิกัด PUB 020650 ระวาง 5539 III ไหลผ่านที่ราบทุ่งนาไปทางตะวันออก เฉียงเหนือสมทบกับลำตะโคงที่พิกัด PUB 067784 ระวาง 5639 III สภาพเป็นห้วยกว้างประมาณ 10 ม. ลึก 2.00 ม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น