วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

น้ำท่วมโรงเรียนบ้านท่าเรือ อ่วมหนักรอบ 50 ปี

    ...สถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอีสานตอนใต้ตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี  ที่มีสภาพเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำมูลและลำน้ำสาขา  โดยเฉพาะในจังหวัดบุรีรัมย์ น้ำจากแม่น้ำมูลได้ล้นตลิ่งและท่วมพื้ืนที่ในอำเภอคูเมือง อำเภอพุทไธสง อำเภอแคนแดงและอำเภอสตึก ตามลำดับ


    >>...สภาพน้ำท่วมที่อำเภอสตึก เป็นอำเภอที่มีสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำมูลมากกว่าทุกอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์  ประกอบด้วย ตำบลนิคม ตำบลสตึก ตำบลสะแก และตำบลท่าม่วง ซึ่งมีลำน้ำสาขาประำกอบด้วยลำตะโคง ไหลมาบรรจบแม่น้ำมูลที่บริเวณปากคาบ ใกล้กับโรงเรียนตะแบงสามัคคี แบ่งเขตระหว่างอำเภอสตึกและอำเภอแคนดง  ส่วนลำชีไหลลงบรรจบกับแม่น้ำมูล เรียกว่าวังทะลุ แบ่งเขตระหว่างจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์  ทำให้น้ำที่ไหลมาจากลำน้ำสาขา ในจังหวัดนครราขสีมา ปะทะกับลำน้ำสาขาในจังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้น้ำหนุนขึ้นสุงผิดปกติ ท่วมบ้านเรือน นาข้าวที่รอการเก็บเก็บ ตลอดจนสถานที่ราชการ
        >>..โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 อำเภอสตึก มีโรงเรียนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำ่ท่วมในครั้งนี้ประกอบด้วยโรงเรียนบ้านท่าเรือโดยน้ำไ้ด้ไหลเข้าสู่บริเวณโรงเรียนเมื่อเช้าวันที่  28 ตุลาคม  2553 เวลา 08.00 น. ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเื่รื่อย ๆ่ ในวันที่  29 ตุลาคม  2553 เวลา 10.00 น.  นายธีรวุฒิ  พทธการี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4  ได้ออกตรวจเยี่ยมสถานการณ์น้ำท่วมที่โรงเรียนบ้านท่าเรือ พร้อมด้วยทีมงานเว็บมาสเตอร์ สพป.บุรีรัมย์ เขต 4  โดยการต้อนรับของ นายสงวน  ศรีเจริญ  ผุ้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าเรือ และคณะครู ผู้นำชุมชน  ขณะนี้น้ำได้หนุนทะลักสูงขึ้นเรื่อย  ๆ สภาพความเสียหาย บ่อปลาจำนวน  2 บ่อ ปล่อยปลาทุกชนิดประมาณ 200,000 ตัว ส่วนรอบอาคารเรียนน้ำได้ทะลักเข้าสุ่ห้องเรียน ตลอดจนอาคารประกอบต่าง ๆ โรงเรียนบ้านท่าเรือเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก นักเรียนจำนวน 119 คน  ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน  8  คน  มีหมู่บ้านในเขตบริการคือ บ้านท่าเรือหมุ่ที่ 7 จำนวนครัวเรือน 228  หลัง ในส่วนหน่วยงานของทางราชการ จังหวัดทหารบกบุรีรัมย์ โดยพันโทวันชนะ  กลั่นพรมสุวรรณ พร้อมด้วย ผกท.จำนวน 10 นาย นศท. จำนวน  40 นาย ได้เข้ามาดูแลรักษาความปลอดภัย โดยการขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ขึ้นบนอาคารเรียน  ตลอดจนอบต.ท่าม่วง ที่ได้ดูแลติดตามน้ำท่วมในขณะนี้

       >>...สภาพทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งของโรงเรียนบ้านท่าเรือ  เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำูมูลทางโรงเรียนได้พัฒนาปรับปรุงโรงเรียนโดยการก่อสร้างรั้วคอนกรีตถาวร เพื่อป้องกันน้ำท่วม ถมดินบริเวณสนามโรงเรียน สภาพน้ำในวันนี้...จากการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนได้กล่าวว่า "น้ำที่ท่วมในครั้งนี้ ท่วมหนักในรอบ 50 ปี  ข้าวที่รอการเก็บเกี่ยวจมน้ำเสียหายหมด การเลี้ยงปลาในกระชังต้องเคลื่อนย้ายมายังริมฝั่ง" ในขณะทีร้านอาหารเช่น ร้านพูนวิไล ร้านครัวริมน้ำ ถูกน้ำท่วมเสียหายหมด สภาพของหมู่บ้านน้ำทะลักเข้าท่วมเกือบทั้งหมู่บ้าน
        >>..ผอ.สงวน  ศรีเจริญ  ผู้บริหารสถานศึกษาได้ชี้แจงกับทางทีมงานว่า  โรงเรียนคงเปิดเรียนในวันที่  1  พฤศจิกายน  2553 ไม่ได้ คงต้องรอระดับน้ำลดลงเป็นปกติ จากการสำรวจสภาพความเสียหาย น้ำจากแม่น้ำมู ลได้ทะลักล้นตลิ่งท่วมนาข้าวและเข้าสู่หมู่บ้านต่าง  ๆ ริมลำน้ำมูล เช่น บ้ายยางน้ำใส  บ้านโนนค้อโนนสำราญ บ้านยางตาสาด บ้านสะแก บ้านมะพริก บ้านโนนมะงา บ้านพลับ โดยเฉพาะโรงเรียนสะแกพิทยาคม น้ำได้ท่วมถึงโรงเีรียน ส่วนโรงเรียนชุมชนบานสะแก โรงเรียนวัดบ้านพลับน้ำได้ล้นตลิ่งมาถึังรั้งของโรงเรียน ส่วนโรงเรียนบ้านสำโรงพิมาน น้ำยังท่วมไม่ถึง โรงเรียนบ้านท่าม่วงน้ำได้ทะลักเข้ามาท่วมถนนหน้าโรงเรียน นักเรียนบางส่วนไม่สามารถที่จะเดินทางมาโรงเรียนได้ โดยเฉพาะนักเรียนในเขตบริการบ้านบิง บ้านสำโรงพัฒนา  ส่วนหมู่บ้านในเขตบริการของโรงเรียนบ้านโนนยาง ประกอบด้วย บ้านตราด บ้านโนนยาง บ้านขี้เหล็ก และบ้านดอนแก้ว สภาพของน้ำจากลำน้ำชี ได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมติดหมู่บ้าน ไร่นาข้าวแล้ว
        >>..สภาพน้ำท่วมในครั้งนี้ ส่งผลเสียหายทุก ๆ ด้าน ความเสียหายที่เกิดขึ้นทางทีมงานชมรม
ICT572 จะได้รายงานต่อไป


ภาพประกอบ
ผอ.ธีรวุฒิ พุทธการี ตรวจสภาพน้ำท่วมร.ร.บ้านท่าเรือ

แผนที่โรงเรียนบ้านท่าเรือ

รถทหารก็ติด ...ไม่สามารถเข้าถึงโรงเีรียนได้

สภาพของน้ำทะลักเข้าท่วมโรงเรียน ...ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 

นศท.จทบ.บุรีรัมย์  ร่วมกันขนย้ายสิ่งของจากทุกห้องเรียน ให้อยู่ในที่ปลอดภัย

นั่งเรือยาวอย่างเดียว...ไม่สามารถเดินลุยน้ำถึงโรงเรียนได้


ผอ.ธีรวุฒิ พุทธการี ตรวจสถานการณ์น้ำท่วมร.ร.บ้านท่าเรือ


ร้านอาหารพูนวิไล น้ำท่วม...หยุดกิจการ



ข่าว : สุวัฒน์  อุ่นทานนท์ Webmaster2
ภาพ/วีดิทัศน์ : รชฏ  ชะรุมรัมย์  โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ 
ชมรม ICT572

------------------------------------------------------------------------------------------

วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่น้ำมูลเป็นแม่น้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ความยาว 640 กิโลเมตร พื้นที่ลุ่มน้ำ 69,701 ตร.กม.[1]   ปัจจุบัน ชื่อของแม่น้ำสายนี้ สะกด "มูล" แต่เดิมนั้น ชาวบ้านในท้องถิ่นใช้คำสะกด "มูน" ซึ่งเป็นภาษาถิ่น หมายถึง สิ่งมีค่าน่าหวงแหน เป็นมรดกของบรรพบุรุษสั่งสมเก็บไว้ให้ลูกหลาน[2] แต่ทางราชการได้กำหนดภาษาราชการตามเสียงเรียก โดยสะกด "มูล" ด้วย

เส้นทางแม่น้ำ

แม่น้ำมูลมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาตอนใต้ของจังหวัดนครราชสีมา ไหลผ่านอำเภอเมือง อำเภอพิมาย อำเภอชุมพวง (จังหวัดนครราชสีมา), อำเภอสตึก (จังหวัดบุรีรัมย์ ), อำเภอท่าตูม (จังหวัดสุรินทร์), อำเภอราษีไศล อำเภอเมือง และ อำเภอกันทรารมย์ (จังหวัดศรีสะเกษ) บรรจบกับกับแม่น้ำชีบริเวณบ้านขอนไม้ยูง อำเภอวารินชำราบ (จังหวัดอุบลราชธานี) แล้วไหลผ่านอำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอพิบูลมังสาหาร และไหลลงแม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม (จังหวัดอุบลราชธานี) มีความยาวทั้งหมดประมาณ 726 กิโลเมตร ลำน้ำสาขาที่สำคัญ ได้แก่ ลำตะคอง ลำพระเพลิง ลำปลายมาศ ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย ลำน้ำเสียว ลำเซบาย และลำมูลน้อย เป็นต้น ซึ่งใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรเป็นส่วนใหญ่
สองฝั่งเป็นที่ราบน้ำท่วมถึงลุ่มน้ำมูลมีพื้นที่ลุ่มน้ำ 69,701 ตร.กม. หรือ 43-56 ล้านไร่หรือ 13.6% ของพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งประเทศครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ปริมาณน้ำไหลลงสู่แม่น้ำโขงเฉลี่ยประมาณ 26,655 ล้าน ลูกบาศก์เมตรปี [3]




 ที่มา : http://th.wikipedia.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น