เพิ่มคำอธิบายภาพ |
ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานโครงการรวมน้ำใจช่วยเหลือและเยียวยาสถานศึกษาและนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมในครั้งนี้
บ่ายวันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2553 เวลา 14.00 น. ทางทีมงานชมรม ICT572 ได้มีโอกาสเป็นเก็บข้อมูลภาคสนามที่โรงเรียนบ้านบุ่งเบา ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง...สถานศึกษาที่เจอวิกฤติการณ์น้ำท่วมหนัก กลายเป็นป่าบุ่งป่าทาม หรือพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งใหม่ที่ยากจะเยียวยา...
จากปากทางถนนลาดยาง ทางเข้าโรงเรียนประมาณ 300 เมตร ทางทีมงาน ได้พบกับน้อง ๆ ชาวบุ่งเบาที่กำลังเล่นน้ำเพื่อรอน้ำลดลงอย่างสนุกสนานเป็นไกด์ให้กับพวกเรา พร้อมกับเรือ ท้องแบนและเรือยาว 2 ลำ เพื่อเดินทางเข้าไปยังโรงเรียน
สภาพน้ำท่วมขังโรงเรียน ณ วันนี้ (7 ตุลาคม 2553) ประมาณ 1 เมตร (บริเวณอาคารเรียน) เราหาที่นั่งเพื่อสะดวกในการสัมภาษณ์
สภาพน้ำท่วมร.ร.บ้านบุ่งเบา (7 พ.ย.53) |
ผู้สัมภาษณ์ : น้ำทะลักเข้ามาวันที่เท่าใด
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : เริ่มทะลักเข้ามาวันที่ 21-22 ต.ค. 2553 น้ำไหลเข้ามาช้า ๆ วันที่ 23 ต.ค.53 น้ำจะไหลเข้ามาเร็วมาก ทุก ๆ ปีน้ำจะทะลักเข้ามาแต่ไม่มากถึงขนาดนี้ จะถึงบริเวณโรงอาหารถ้าในห้องเรียน ก็จะถึงที่วางเท้าเด็กในวันที่ 23 ต.ค. น้ำไหลเข้าห้องเรียนสูงมากเลยทีเดียว
ผู้สัมภาษณ์ : ทางโรงเรียนช่วยกันเก็บอุปกรณ์การเรียนวันไหน
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : วันที่ 23 ต.ค. ของในห้องเรียนเสียหายมาก ตอนเก็บแล้วน้ำเริ่มทะลักท่วมเหลือประมาณ 1 ฟุต ขนของทั้งวัน มันเหนื่อย เดินลุยน้ำ ตอนนั้นค่ำพอดี ขาเป็นแผล กลัวเป็นโรคฉี่หนูคิดว่าพรุ่งนี้จะมาย้ายของที่เหลือใหม่ พอพรุ่งนี้จะมาเก็บอีก พอเช้าวันที่ 24 ต.ค. น้ำทะลักเข้าเต็มห้องเลยท่วมโต๊ะหมดเลย เลยเก็บไม่ทัน
ผู้สัมภาษณ์ : อาจารย์ติดตามข่าวเกี่ยวกับสถานน้ำท่วมแล้วมีการวางแผนอย่างไรมาก่อน
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : มีคนส่งข่าวมาบอก เป็นญาติที่อยู่ทางจังหวัดนครราชสีมา
ผู้สัมภาษณ์ : รู้ไหมว่าน้ำจะมาถึงวันไหน
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : รู้ค่ะ รู้แต่ว่าน้ำจะมา
ผู้สัมภาษณ์ : ทางหมู่บ้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอำเภอ จังหวัดของเราได้แจ้งประกาศเกี่ยวกับสภาวะการณ์น้ำท่วมอย่างไรบ้างครับ
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : ทางผู้ใหญ่บ้านได้ประกาศทางเสียงตามสายหมู่บ้านว่าน้ำจะมาประกาศ ให้เก็บของ ตอนประกาศน้ำมามากแล้ว พอน้ำมามาก ชาวบ้านก็ตื่นตัวกัน ไม่เคยเห็นน้ำมามากขนาดนี้ น้ำล้นตลิ่งเข้ามามากท่วมถึงถนนลาดยาง
ผู้สัมภาษณ์ : มีหน่วยงานไหนที่เข้ามาช่วยน้ำท่วมโรงเรียนของเรา
ผู้ถูกสัมภาษณ์ :มีพวกทหารมาจากบุรีรัมย์ พวกเราขนย้ายกันเอง ย้ายจากชั้นล่างมาบนที่สูง โดยเอาโต๊ะวาง 2 ชั้นแล้ววางบนโต๊ะอีก ต่อมาย้ายมาอยู่ข้างบนอีก
ผู้สัมภาษณ์ : ในส่วนของสำนักงานเขตของเรา มีใครมาช่วยและเยี่ยมพวกเราบ้าง
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : เท่าที่ทราบ เห็นมีท่านรองสารภี มาเยี่ยม พอท่านมาถึงทางเข้าโรงเรียน น้ำท่วมมากท่านเลยไม่เข้ามาโรงเรียน ส่วนท่านผอ.เขต และท่านรอง ผู้บริหาร องค์กรต่าง มาเรื่อย ๆ แต่จำไม่ได้ว่าเป็นใครค่ะ
ผู้สัมภาษณ์ : หลังจากที่น้ำท่วมทางโรงเรียนได้วางแนวทางน้ำท่วมโรงเรียนอย่างไร
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : ทางผอ.โรงเรียนได้ประชุมคณะครู กรรมการสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกาศให้เด็กหยุดเรียน โดยประกาศเสียงตามสายของหมู่บ้านประกาศไปแล้ว 1 อาทิตย์ คิดว่าจะเปิดวันที่ 8 พ.ย.53 ก็ยังเปิดไม่ได้ ดูสภาพแล้วยังเปิดไม่ได้ คงต้องปิดต่อไป ประกาศไปแล้ว 1 ครั้ง
ผู้สัมภาษณ์ : งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน หรือความเป็นเลิศซ้อมหรือฝึกเด็กที่ไหนครับ
ผู้ถูกสัมภาษณ์ :ซ้อมที่บ้านคุณครู คนไหนสะดวกที่ไหนก็ซ้อมกันไป
ผู้สัมภาษณ์ : ขอทราบข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนบ้านบุ่งเบาหน่อยครับ
ผู้ถูกสัมภาษณ์ :นักเรียน 299 คน ครู 18 คน ธุรการ 1 คน หมู่บ้านที่มาเรียน 4 หมู่บ้าน (แต่ก่อนมี 5-6 หมู่บ้าน) บ้านบุ่งเบา หมู่ 1, 9 และ 11 บ้านกุดเทา บ้านสบกบ (มาเรียนมัธยม) และบ้านข่อย มาเรียนมัธยม
ผู้สัมภาษณ์ : กิจกรรมที่ทางโรงเรียนประสบปัญหาน้ำท่วมโรงเรียนมีอะไรบ้างครับ
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : กิจกรรมของทางโรงเรียนที่เสียหายในขณะนี้ เช่น ไก่ เป็ด ปลา หมู (น้ำกำลังมา เป็ดไข่พอดี ทำให้เปิดตกใจ ส่วนหมูนำไปเลี้ยงที่บ้านครูในโรงเรียนนี้) พื้นที่ของโรงเรียนประมาณ 12 ไร่
สัมภาษณ์อ.ฉวีวรรณ เสนาสังข์ (7 พ.ย.53) |
ผู้สัมภาษณ์ : อาจารย์ครับ คำว่าบุ่งเบา มาที่มาอย่างไร
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : บุ่งมาจาก ป่าบุ่งป่าทาม เบา มาจากหมากกะเบา ลูกกลม ๆ ใหญ่ ประมาณลูกส้มโอ เป็นสีน้ำตาลกินได้ ตอนนี้มีอยู่หลายต้น
ผู้สัมภาษณ์ :ชุมชนบุ่งเบานี้ตั้งมานานเท่าไร
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : สร้างมานานเท่าใด ตั้งมาประมาณ 100 กว่าปีบางคนอายุประมาณ 80-90 ปี เกิดอยู่นี่ ยังมีชีวิตอยู่ก็มี ตอนนี้ชุมชนขยายใหญ่ขึ้น
ผู้สัมภาษณ์ : สภาพของชุมชน ประชาชนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใด
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : ส่วนมากเป็นไทยลาว เป็นลาวแบบศรีสะเกษ (ไม่ถึงขนาดศรีสะเกษ) ค่ะ
ผู้สัมภาษณ์ : น้ำท่วมในหมู่บ้านของเรา เสียหายกี่หลัง ครับ
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : จำนวน 40 หลังคาเรียน
ผู้สัมภาษณ์ : ด้านโรงเรียนไปไม่ไกลเป็นลำน้ำอะไร
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : เป็นลำน้ำสะแทด บางคนเรียกกะแทด เดินไปไกลไหม ประมาณ 300 เมตร
ผู้สัมภาษณ์ : อาจารย์พอทราบข้อมูลของลำสะแทดบ้างไหม ทำไมจึงเรียกว่าลำสะแทด มีต้นกำเนิมาจากไหน
ผู้ถูกสัมภาษณ์ : ไม่ทราบค่ะ แต่ทราบว่า แบ่งเขตแดนระหว่างอำเภอเมืองยาง จ.นครราชสีมา ทางฝั่งด้านโน้น เป็นชุมชนขนาดใหญ่ คือ บ้านกระบ้านนอกเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในสมัยก่อนบริเวณนี้จะเป็นท่าเรือขนาดใหญ่น้ำจะท่วมทุกปี แต่มันไม่มาก
น้อง ๆ นักเรียนและชาวบ้านบุ่งเบา |
ทางทีมงานได้สัมภาษณ์นักเรียน ผู้นำชุมชน เกี่ยวกับสภาพปัญหาจากวิกฤติการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้
ขอบใจน้อง ๆ ชาวบุ่งเบาที่ช่วยเป็นอาสาสมัครให้กับทีมงานของเรา
1. ด.ช.วัชรพงษ์ เปไธสง ม.1 อายุ 13 ปี โรงเรียนพุทไธสง
2. ด.ญ.อรพิน ยินดี ป.6 อายุ 12 ปี โรงเรียนบ้านบุ่งเบา
3. ด.ญ.ธนัชชา เข็มไธสง ป.6 อายุ 12 ปี โรงเรียนบ้านบุ่งเบา
4. ด.ญ.สมพร พอกกล้า ป.6 อายุ 12 ปี โรงเรียนบ้านบุ่งเบา
5. ด.ช.นพวงศ์ สิมมาวงศ์ ป.5 อายุ 11 ปี โรงเรียนบ้านบุ่งเบา
หากโรงเรียนใด หน่วยงานใด มีจิตศรัทธาที่จะร่วมเป็นกำลังใจช่วยเหลือชุมชนบุ่งเบาและโรงเรียนบ้านบุ่งเบา ติดต่อได้ที่ กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4
สัมภาษณ์ชาวบุ่งเบาที่ร่วมชะตากรรมน้ำท่วม |
อ.ศิริพงษ์ สัมภาษณ์นักเรียน |
อ.วีระชัย รุ่งรพีพรพงษ์ ถ่ายภาพเก็บข้อมูล |
สัมภาษณ์ : อ.สุวัฒน์ อุ่นทานนท์ นักวิจัยด้านนิเวศวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Ecology)
ผู้ให้ข้อมูล : อ.ฉวีวรรณ เสนาสังข์ ครู คศ.3
เทป : อ.ศิริพงษ์ สิมสีดา
ถ่ายภาพ/วีดิทัศน์ : อ.วีระชัย รุ่งรพีพงพงษ์
-------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระน่ารู้ ลุ่มน้ำลำสะแทด
ลุ่มน้ำลำสะแทด
ต้นน้ำอยู่ที่ห้วยปราสาท อำเภอคงและอำเภอขามสะแกแสง ซึ่งเป็นที่ราบสูงระหว่างลุ่มแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ไหลผ่านอำเภอพิมาย อำเภอโนนแดง อำเภอประทาย อำเภอเมืองยาง จ.นครราชสีมา อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ และอำเภอพุทไธสง จ.บุรีรัมย์ ประกอบด้วยลำสาขาได้แก่ ลำห้วยตะกั่ว ห้วยแอก ไหลลงลำสะแทด แล้วลำสะแทดไหล 77 กิโลเมตร มีต้นน้ำอยู่ที่ห้วยปราสาท อำเภอขามสะแกแสง และอำเภอคง มีปริมาณน้ำตลอดปีและค่อนข้างมากในช่วงฤดูฝน และมีฝายน้ำล้นขนาดกลาง ขนาดเล็กกั้นลำน้ำอีกหลายแห่งประชากรส่วนใหญ่ในลุ่มน้ำประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ปลูกไม้ผลและเลี้ยงสัตว์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของลุ่มน้ำลำสะแทดจะอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัด
ขอนแก่น มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 5 แห่งที่กั้นลำสะแทด ความกว้างของลำน้ำเฉลี่ย 40-50 เมตร
ลำห้วยสาขาประกอบด้วย ลำห้วยาง ลำห้วยปลาหมัน และลำห้วยแอก
ห้วยแอกเป็นห้วยขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นสาขาของแม่น้ำมูลคู่กันกับลำพังชู ต้นน้ำอยู่บริเวณที่สูงตอนเหนือตัวอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ทางตอนต้นน้ำจะมีลำห้วยขนาดเล็กจำนวนมากไหลมาร่วมกันทางทิศใต้ ประมาณพิกัด PTC 630300 ระวาง 5540 II (วัดชายอรัญ อำเภอพุทไธสง) เขตจังหวัดบุรีรัมย์จากนั้นจะไหลลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ จนสมทบกับแม่น้ำมูลที่พิกัด PTC 868072 ระวาง 5540 II
พื้นที่รับน้ำ 2496 ตร.กม.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : สำนักงานโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน http://kromchol.rid.go.th/lproject/2010/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น